ในประเด็นของเทคโนโลยีโอมิกส์ (Frontier Teachnology) เทคโนโลยีขั้น
แนวหน้า ที่ช่วยขยายขอบเขตของการวิจัยและนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์
หลาย ๆ ด้าน รวมไปถึงบูรณาการกับศาสตร์ที่มีความก้าวหน้าสูงโดยมีเป้าหมายที่จะการศึกษาเกี่ยวกับรหัสพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตในระดับจีโนม (Genomics)

การแสดงออกของยีน (Transcriptomics) หน้าที่การทำงานของโปรตีน การปฏิสัมพันธ์ของโปรตีน (Proteomics) และการเปลี่ยนแปลง ของเมตาโบไลต์ที่เป็นชีวโมเลกุลขนาดเล็กในสิ่งมีชีวิต (Metabolomics)

ซึ่งในปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีโอมิกส์มาใช้ประโยชน์ในหลาย ๆ ด้านได้แก่

  • ด้านการเกษตรและอาหาร
    เช่น การใช้ Genomics เพื่อปรับปรุงพันธุ์พืช และ สัตว์ และการใช้ Metabolomics ในการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของอาหาร
  • ด้านการแพทย์
    เช่น การศึกษา Genomics เพื่อใช้ในการออกแบบเครื่องหมายบ่งชี้ชีวภาพ (Biomarkers) และ เพื่อการนิจฉัยโรคและพัฒนาหรือการรักษาที่จำเพาะต่อบุคคคล (Personalized Medicine)

อย่างในปีงบประมาณ 2567 หน่วยงาน บพค. ได้เร่งผลักดันเทคโนโลยีโอมิกส์ ภายใต้กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในด้านการแพทย์มากมายเพื่อแก้ปัญหาสาธารณสุขของประเทศ ไม่ว่าจะเป็น

  • การพัฒนาโปรติโอมิกส์เพื่อถอดรหัสการเกิดนิ่วในไต ของมหาวิทยาลัยมหิดล
  • การพัฒนาอาหารฟังก์ชันตามหลักโภชนาการแม่นยำด้วยเทคโนโลยีขั้นแนวหน้าโอมิกส์
  • การยกระดับมาตราฐานสมุนไพรไทยด้วยเทคโนโลยีโอมิกส์
  • โปรติโอมิกส์ของมะเร็งและการค้นหาตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ

จึงปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเทคโนโลยีนี้มีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด มีผลกระทบสูง และน่าจับตามองเป็นอย่างมากต่องานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีในแต่ละด้าน โดยเฉพาะด้านการแพทย์ที่จะช่วยผลักดันประเทศไทยให้เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีแห่งอนาคตได้อย่างแน่นอน

ใครสนใจข่าวสารความรู้เพิ่มเติม สามารถ Download Newsletter จดหมายข่าว บพค. ได้ที่ https://www.pmu-hr.or.th/newsletter/

TH