บพค. ส่งเสริมการพัฒนากำลังคนด้านการวิจัยให้มีทักษะและสมรรถนะสูงเพื่อยกระดับขีด
ความสามารถของสถาบันวิจัยและหน่วยงาน
ภาคเอกชน/อุตสาหกรรมภายใต้วิทยสถานวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย (Thailand Academy of Sciences; TAS) หรือ “ธัชวิทย์”
พร้อมการขับเคลื่อนงานวิจัยขั้นแนวหน้าตาม Agenda Based Research อันสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวง อว. และนโยบายประเทศ ซึ่งมีกลไกในการจัดการโจทย์วิจัยที่เป็นประเด็น/ปัญหาสำคัญของประเทศ หรือความต้องการของภาคการผลิต บริการ และภาคการวิจัยของหน่วยงานทุกภาคส่วนใน 3 มิติ ได้แก่
Frontline Think Tank
การสร้างเครือข่ายคลังสมองทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาประเทศ โดยปัจจุบันสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) เป็นผู้ขับเคลื่อนหลัก และมีประเด็นขับเคลื่อนสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล Ignite Thailand ทั้ง 8 ด้าน โดยใน ปี พ.ศ. 2567 สอวช. ได้มุ่งเป้าขับเคลื่อน ใน 5 ประเด็นสำคัญได้แก่ Synthetic Biology, Future Food, Fusion Technology, AI Literacy และ Carbon Management ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อนักยุทธศาสตร์และผู้กำหนดนโยบายระดับประเทศต่อไป
Frontier Science Alliance
กลุ่มริเริ่มการวิจัยขั้นแนวหน้าที่เกิดผลกระทบสูงต่อเศรษฐกิจ สังคมและรองรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ อาทิ ประเด็นการสนับสนุนงานวิจัยส่งเสริมความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon neutrality) ให้ได้ภายในปี ค.ศ. 2050 ต่อยอดแนวทางการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ในปี ค.ศ. 2065 ซึ่งประเด็นนี้ บพค. ได้ขับเคลื่อนไปแล้วในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ผ่านการสนับสนุน 2 โครงการใหญ่ ได้แก่ โครงการที่บูรณาการเทคโนโลยี Nature-based solution ร่วมกับ Carbon capture utilization โดยใช้ Agri-PV ในการผลิตชีวมวลสาหร่ายเพื่อช่วยดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ผ่านกระบวนการ Climate Mitigation รวมถึงการตรึงคาร์บอน ลงในชั้นดินผ่านรากมันสำปะหลังที่เป็นกระบวนการ Climate Adaptation และโครงการที่ศึกษาค้นคว้าการกักเก็บคาร์บอน (Carbon Sink) ในบริเวณเขาหินปูนและถ้ำ ตลอดจนการส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อผลักดัน และ ส่งเสริมการอนุรักษ์สมดุลธรรมชาติ ผ่าน Biodiversity Credit สำหรับผลักดันเชิงนโยบายก่อนลงมือในภาคปฏิบัติแก่หน่วยงานต่าง ๆ ในประเทศไทยต่อไป
Future Graduate Platform
การสร้างและพัฒนาบัณฑิตวิทย์สมรรถนะสูงที่พัฒนาจากความร่วมมือของสถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยและภาคเอกชน รวมถึงสถาบันวิจัยชั้นนำของโลกที่เป็นเครือข่ายความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ สำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
ธัชวิทย์ได้ร่วมมือกับทางมหาวิทยาลัย และสถาบันร่วมผลิตบัณฑิตกลุ่มนี้ด้วยการพัฒนาหลักสูตรใหม่ ในระดับปริญญาโท และ ปริญญาเอก เพื่อสร้างนักวิจัยในสาขา ที่สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ ได้แก่ Bioinformatics & System Biology, Sustainable Bioenergy & Biorefinery Technology, Geospatial Data Science, Rail system Integration และ Railway Engineering and Technology และมีหน่วยงานร่วมพัฒนาหลักสูตรประกอบด้วย สถาบันวิจัย 9 แห่ง มหาวิทยาลัย 4 แห่ง รวมทั้งหน่วยงานภาคเอกชน/อุตสาหกรรม 8 แห่ง
ทั้งนี้ ในปี 2567 บพค. ได้สนับสนุนทุนวิจัยเพื่อสร้างกำลังคนสมรรถนะสูงผ่านความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาคผู้ใช้บัณฑิต และมหาวิทยาลัยผ่านกลไก Co-curriculum Co-teaching และ Co-certificate แก่นักศึกษา (ผู้ช่วยนักวิจัย) จำนวน 45 คน ศึกษาในระดับปริญญาโท 7 คน และระดับปริญญาเอก 38 คน