Author: admin2
-
ขอแสดงความยินดีกับ ศาสตราจารย์ ดร.สมปอง คล้ายหนองสรวง
ขอแสดงความยินดีกับศาสตราจารย์ ดร.สมปอง คล้ายหนองสรวง ในโอกาสได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) โดยให้มีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 เป็นต้นไป
-
บพค-ธัชวิทย์ ร่วมกับ University of Science and Technology (UST) เกาหลีใต้ จัดกิจกรรม TAS Annual Networking สร้างความเข้มแข็งด้านการวิจัยขั้นแนวหน้า พร้อมพัฒนากำลังคนผ่าน Future Graduate Platform
เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2567 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) จัดกิจกรรม Thailand Academy of Sciences (TAS) Annual Networking Activity ภายใต้แนวคิด “การเชื่อมโยงกำลังคนสมรรถนะสูงข้ามพรมแดนร่วมกับ University of Science and Technology (UST) ประเทศเกาหลีใต้ – Connecting Brainpower Across Border with UST South Korea” นำโดย ผศ.ดร.ปริปก พิศสุวรรณ รองผู้อำนวยการ บพค. ผศ.ดร.วรจิตต์ เศรษฐพรรค์ ประธานคณะประสานงานคลัสเตอร์ด้าน Global Partnership ศ.ดร.นวดล เหล่าศิริพจน์ หัวหน้าคณะผู้ประสานงานอำนวยการโครงการธัชวิทย์ประจำปี 2567 ผศ.ดร.จุฑารพ เพชระบูรณิน…
-
Synbio หรือ Synthetic biology เป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่กำลังเข้ามา disrupt อุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีภาพและทางการแพทย์ของประเทศไทย
Synbio หรือ Synthetic biology เป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่กำลังเข้ามา disrupt อุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีภาพและทางการแพทย์ของประเทศไทย ซึ่งจะเข้ามามีส่วนช่วยพัฒนากระบวนการผลิตในระดับอุตสาหกรรม โดยเปลี่ยนจุลินทรีย์ทั่วไปให้กลายเป็น cell factory หรือที่เราคุ้นเคยคือ Microbial cell factory ซึ่งทำหน้าที่ผลิตสารสำคัญที่ต้องการ โดยโรงงาน(จุลินทรีย์ที่ใช้) ต้องการคนมาดูโรงงานทั้งระบบ (System Biology) มีความรู้ความเข้าใจ whole genome, pathways, promoter, regurator ต่าง ๆ ของจุลินทรีย์เพื่อสร้าง genetic circuits และสามารถทดสอบ Systems biology model ที่สร้างขึ้นได้ ที่สำคัญยังต้องการวิศวกร Metabolic engineering มาตัดต่อ สร้าง ควบคุมการแสดงออกหรือการผลิตโปรตีน (enzyme/protein expression) ให้ถูกที่ (localization) ถูกเวลา (timing) มีเครื่องมือแก้ไข (ตัด/ต่อ) จีโนม หรือ Genome editing เช่น…
-
บพค. ให้การต้อนรับคณะผู้บริหารและคณาจารย์จาก University of Science and Technology (UST) สาธารณรัฐเกาหลี เข้าเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการร่วมพลังงานและเคมีชีวภาพ BIOTEC ต่อยอดการสร้างคนด้านเทคโนโลยีชีวภาพขั้นสูงข้ามพรมแดน
วันนี้ (17 ตุลาคม 2567) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปริปก พิศสุวรรณ รองผู้อำนวยการ บพค. พร้อมด้วยพนักงาน บพค. นำคณะผู้บริหารและนักวิจัยจาก University of Science and Technology (UST) สาธารณรัฐเกาหลี นำโดย Dr. Won Suk SHIN – Korea Research Institute of Chemical Technology (KRICT) Dr. June Seok CHOI – Korea Institute of Civil Engineering and Building Technology (KICT)…
-
Explore International Education and Career Paths with UST!
Don’t Miss : Explore International Education and Career Paths with UST!🌐 UST Comes to Thailand – Promoting World-Class Courses in Collaboration with TAS 🌐The University of Science and Technology (UST), South Korea, is coming to Thailand to showcase its exceptional courses and research opportunities! In collaboration with the Thailand Academy of Sciences (TAS), this event…
-
กระทรวง อว. หนุนผลิตกำลังคนตอบความต้องการเร่งด่วนของประเทศผ่านหลักสูตรแซนด์บ็อกซ์ พร้อมอนุมัติเพิ่ม 5 หลักสูตร ในสาขาสำคัญของประเทศ เน้นย้ำหลักสูตรแซนด์บ็อกซ์ด้านเซมิคอนดักเตอร์ เริ่มดำเนินการปีการศึกษา 2568
(3 ตุลาคม 2567) คณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่อง ด้านการส่งเสริมนวัตกรรมการอุดมศึกษา ซึ่งได้รับมอบอำนาจจากสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ได้มีการประชุม ครั้งที่ 1/2567 โดยมีนางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานการประชุม ซึ่งที่ประชุมได้มีวาระสำคัญในการพิจารณาอนุมัติข้อเสนอการจัดการศึกษาฉบับสมบูรณ์สำหรับการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา (Higher Education Sandbox) หรือหลักสูตรแซนด์บ็อกซ์ เพิ่มเติมอีก 5 หลักสูตร นางสาวศุภมาส กล่าวว่า หลักสูตรแซนด์บ็อกซ์ที่เสนอเพื่อขออนุมัติจัดการศึกษาเพิ่มเติมในครั้งนี้ อยู่ในสาขาที่เป็นความต้องการเร่งด่วนของประเทศ อาทิ เซมิคอนดักเตอร์ ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ และ ระบบราง โดยเฉพาะหลักสูตรวิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์ ที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้เป็นหลักสูตรกลางของประเทศ โดยเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษา 15 แห่ง เพื่อร่วมกันผลิตบัณฑิตเฉพาะทางสมรรถนะสูงที่ตอบโจทย์ความต้องการ และมีจำนวนมากเพียงพอสำหรับดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ รวมถึงนำไปสู่การเป็น New Growth Engine ตัวใหม่ของประเทศ หลักสูตรนี้มีจุดเด่นอยู่ที่ความร่วมมืออย่างเข้มข้นของสถาบันการศึกษากับบริษัทเอกชนชั้นนำของประเทศ 8 แห่ง ซึ่งจะเข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่การออกแบบสมรรถนะ สนับสนุนผู้เชี่ยวชาญและเครื่องมือขั้นสูง รวมถึงการรับนักศึกษาเข้าฝึกและเข้าทำงานหลังจบการศึกษา นอกจากนี้ อีกหนึ่งหลักสูตรที่มีความต้องการขาดแคลนเร่งด่วน…
-
ครบรอบ 1 ปี ธัชวิทย์ บพค. ประกาศหนุน ยกระดับแพลตฟอร์มการสร้างคนระดับประเทศ ด้วยงานวิจัยและนวัตกรรมพลิกโฉมประเทศไทย
บพค. ส่งเสริมการพัฒนากำลังคนด้านการวิจัยให้มีทักษะและสมรรถนะสูงเพื่อยกระดับขีดความสามารถของสถาบันวิจัยและหน่วยงานภาคเอกชน/อุตสาหกรรมภายใต้วิทยสถานวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย (Thailand Academy of Sciences; TAS) หรือ “ธัชวิทย์” พร้อมการขับเคลื่อนงานวิจัยขั้นแนวหน้าตาม Agenda Based Research อันสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวง อว. และนโยบายประเทศ ซึ่งมีกลไกในการจัดการโจทย์วิจัยที่เป็นประเด็น/ปัญหาสำคัญของประเทศ หรือความต้องการของภาคการผลิต บริการ และภาคการวิจัยของหน่วยงานทุกภาคส่วนใน 3 มิติ ได้แก่ Frontline Think Tankการสร้างเครือข่ายคลังสมองทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาประเทศ โดยปัจจุบันสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) เป็นผู้ขับเคลื่อนหลัก และมีประเด็นขับเคลื่อนสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล Ignite Thailand ทั้ง 8 ด้าน โดยใน ปี พ.ศ. 2567 สอวช. ได้มุ่งเป้าขับเคลื่อน ใน 5 ประเด็นสำคัญได้แก่ Synthetic Biology, Future Food, Fusion Technology, AI Literacy…
-
บพค. ร่วมขับเคลื่อนการใช้ผลงานวิจัยและนวัตกรรม ในงาน “TRIUP FAIR 2024”
วันนี้ (24 กันยายน 2567) ศาสตราจารย์ ดร.สมปอง คล้ายหนองสรวง ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมด้วย ดร.ภาวดี อังค์วัฒนะ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิรินันท์ กุลชาติ รองผู้อำนวยการ บพค. เข้าร่วมงานมหกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยและนวัตกรรม ประจำปี 2567 หรือ TRIUP FAIR 2024 ภายใต้แนวคิด “Impact Journey to Ignite Thailand : เส้นทางการขับเคลื่อนงานวิจัยและนวัตกรรมสู่การยกระดับเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ” ซึ่งจัดโดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และหน่วยงานภาคีเครือข่ายในระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ผนึกกำลังสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย โดยได้รับเกียรติจาก นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดงาน…
-
ผมจะเล่าว่า…ทำไม ผมจึงตั้ง…ธัชวิทย์
มีใครยังไม่เคยทานข้าวกับผมบ้างครับ ยกมือขึ้น ….เป็นคำถามที่ผมอยากถามผู้บริหารระดับสูงใน อว. เพราะผมเชื่อว่าตลอด 1,111 วันในตำแหน่ง รมว.อว.ของผม ผมทานข้าวร่วมโต๊ะกับผู้บริหารแทบทุกคนในกระทรวง เพราะสำหรับผม โต๊ะอาหาร คือ ที่ทำงานที่ดีที่สุด ….ใช่ครับ ผมชอบวิธีการทำงานแบบ “ไม่เป็นทางการ” โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนไทย ทุกท่านเคยได้ความเห็นที่แท้จริงจากในห้องประชุมไหมครับ เวลาเลขาอ่านรายงานการประชุมเคยฟังจนจบไหมครับ ผมไม่ใช่คนที่ต่อต้านระบบ ระเบียบ แต่ผมจะทำวิธีใดก็ได้ที่ทำให้งานสำเร็จได้ตามเป้าหมาย เร็ว และ มีประสิทธิภาพ เพราะผมต้อง “นำ” ให้ อว. นำไทยสู่เป้าหมายประเทศพัฒนาแล้วให้ได้ในปี 2580 ครับ ผมค้นจนพบว่า คนไทยเก่งวิทยาศาสตร์ไม่ด้อยไปกว่าประเทศเพื่อนบ้านเลยครับ แต่จะทำอย่างไรให้คนเก่งได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่ ผมจึงให้นโยบาย “มหาวิทยาลัยไม่เป็นทางการ แต่เป็นเลิศระดับสูง” ด้วยรูปแบบ Virtual Organization เป็นนวัตกรรมในการสร้างกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ให้กับไทย ในชื่อ “ธัชวิทย์” วิทยสถานวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย (Thailand Academy of Science : TAS) เพื่อสร้างหลักสูตร Future Graduate Platform…