Frontier Science Alliances : งานวิจัยชั้นแนวหน้า
เป็นแพลตฟอร์มการสร้างและพัฒนานักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ วิศวกรด้านการวิจัยและพัฒนาให้มีสมรรถนะและทักษะขั้นสูงในรูปแบบ Non-conventional graduate ผ่านการส่งเสริมการใช้ National Facilities และโครงสร้างพื้นฐานด้านทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ประเทศได้ลงทนไปแล้วให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาในบทบาท 3 อย่าง ได้แก่
(1) การร่วมสอนและให้คำปรึกษา (Co-teaching) มุ่งเน้นการเรียนที่เป็นการวิจัยมากกว่า 70% ที่สถาบันวิจัย (Hands on experience) และภาคทฤษฎีไม่เกิน 30% (2) ร่วมออกแบบหลักสูตรทีมีความทันสมัยและมีความยืดหยุ่น (Co-curiculum) ผ่านกลไกการขับเคลื่อนนวัตกรรมที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา (Higher Education Sandbox) และ (3) ร่วมออกใบรับรอง หรือประกาศนียบัตรหรือปริญญาบัตร (Co-certifcate) ซึ่งบัณฑิตนักวิทยาศาสตร์แห่งอนาคตที่เกิดขึ้นจากแพลตฟอร์มนี้จะเป็นกำลังคนสำคัญชั้นแนวหน้า (Brainpower) ของประเทศที่จะสามารถยกระดับขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศให้ทัดเทียมได้กับประเทศที่พัฒนาแล้ว
โดยมีเป้าหมายการผลิตบัณฑิตวิทย์สมรรถนะสูงให้ได้จำนวน 150 คนภายในปี พ.ศ. 2572 สำหรับคู่มือโครงการธัชวิทย์เล่มนี้ จะเป็นการชี้แจงข้อมูลและรายละเอียดของโครงการในส่วนที่เป็นมิติที่ 3 Future Graduate Platform เท่านั้น เพื่อให้หัวหน้าโครงการ นักวิจัยที่ปรึกษาผู้ช่วยวิจัยและผู้ประสานงานได้ทำความเข้าใจและศึกษาหาข้อมูลประกอบการบริหารจัดการทุนต่อไป
- ร่วมกันนำโครงสร้างพื้นฐาน นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย วิศวกร และเครือข่ายที่แต่ละฝ่ายมีอยู่มาสนับสนุนการสร้างและพัฒนากำลังคนสมรรถนะสูง มีทักษะเชิงลึกในเทคนิคเฉพาะทาง
- สร้างความร่วมมือด้านการวิจัย พัฒนาเทคโนโลยี และบวัตกรรมขั้นแนวหน้าที่เป็นที่ต้องการของประเทศในปัจจุบันและอนาคต
- นำองค์ความรู้ที่แต่ละฝ่ายมีอยู่มาร่วมกันการสร้างความเข้มแข็ง สร้างคลังสมองในการตอบโจทย์แก้ปัญหาที่สำคัญของประเทศ และชี้แนะแนวโน้มทิศทางของโลกในอนาคต
- ผลิตและพัฒนากักษะบุคลากรสมรรถนะสูงให้สอดคล้องกับความต้องการและยกระดับความสามามารถของสถาบันวิจัย ภาคอุตสาหกรรม และความต้องการของประเทศ ในสาขาเฉพาะด้าน