Category: News
-
มุ่งเป้าสู่ความยั่งยืน !! เมื่อโปรตีนจากถั่วกลายเป็นอาหารแห่งอนาคต
จากห้องแล็บสู่จานอาหารแห่งอนาคต พบกับ ดร.ชัยวุฒิ กมลพิลาส นักวิจัยหนุ่มไฟแรงจาก MTEC ผู้บุกเบิกนวัตกรรมโปรตีนจากพืชของไทย ด้วยประสบการณ์ทรงคุณค่าจากการคว้าทุนวิจัย Postdoc Fellowship ที่ Imperial College London สู่การพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ด้านวัสดุศาสตร์อาหารของไทย ล่าสุดกับโครงการวิจัยสุดล้ำในการพัฒนากระบวนการผลิตโปรตีนจากถั่วหลากหลายชนิด ทั้งถั่วลูปิน ถั่วมังกรและถั่วเหลือง ผ่านเทคโนโลยีการสกัดและแปรรูปที่ทันสมัยเพื่อให้ได้โปรตีนทางเลือกที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ตอบโจทย์เทรนด์อาหารเพื่อสุขภาพและความยั่งยืน พร้อมขยายผลสู่ภาคอุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคต นี่คือตัวอย่างความสำเร็จของนักวิจัยไทยที่กำลังยกระดับวงการอาหารของประเทศ ด้วยการผสานความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมเข้าด้วยกัน เพื่ออนาคตที่ยั่งยืนของอุตสาหกรรมอาหารไทย ติดตามเรื่องราวเต็ม ๆ ของ ดร.ชัยวุฒิ กมลพิลาส และงานวิจัยสุดล้ำนี้ได้ใน Newsletter ฉบับล่าสุด พร้อมติดตามนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่น่าสนใจได้ที่ Facebook: PMU-B Thailand https://www.pmu-hr.or.th/ Newsletter คอลัมน์ Take a seat ดร. ชัยวุฒิ กลมพิลาส บทบาทวัสดุศาสตร์อาหารกับนวัตกรรมโปรตีนพืชสู่ความยั่งยืน#บพค #PMUB #กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม#กระทรวงอว #MHESI #กองทุนส่งเสริมววน #PMUBThailand #FoodTech #FutureProtein…
-
บพค. ร่วมประชุมวางแผนการสนับสนุนและผลักดันการวิจัยด้านน้ำของประเทศไทย
บพค. ร่วมประชุมวางแผนการสนับสนุนและผลักดันการวิจัยด้านน้ำของประเทศไทย โดยการผนึกกำลังระหว่าง สสน. กับ MIT สหรัฐอเมริกา หวังใช้ AI แก้ไขระบบบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน รับมือสภาวะโลกรวน เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2568 นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่ากระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ต้อนรับคณะผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) นำโดย Prof. Retsef Levi, Spencer Standish Professor of Management, and Co-Director of Leaders for Global Operations Program ในการหารือความร่วมมือโครงการ “AI for Water Management” ระหว่างสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (สสน.) และสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts Institute of Technology หรือ MIT) โดยมีเป้าหมายเพื่อยกระดับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศไทยด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์…
-
บพค.-สกสว. ลงพื้นที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ติดตามทิศทางการบริหารจัดการงานวิจัยภายใต้กองทุนส่งเสริม ววน.
เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2567 ดร.ภาวดี อังค์วัฒนะ รองผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) พร้อมด้วยนักวิเคราะห์อาวุโส บพค. เดินทางลงพื้นที่เยี่ยมหน่วยงานที่ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กองทุนส่งเสริม ววน.) ภายใต้วิสัยทัศน์ SRI for ALL ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ณ จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อติดตามทิศทางการบริหารจัดการทุนสนับสนุนงานเชิงกลยุทธ์ (Strategic Fund : SF) และทิศทางการบริหารจัดการงานวิจัย การบริหารจัดการงบประมาณ ววน. ให้หน่วยงานมีศักยภาพในการนำส่งผลผลิต ผลลัพธ์ ผลกระทบตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ นำโดย ศ. ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ประธานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) และ ศ. ดร.สมปอง คล้ายหนองสรวง ผู้อำนวยการ สกสว. พร้อมด้วยคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ สกสว. เริ่มด้วย ศ. ดร.นพ.สิริฤกษ์ และคณะ…
-
ศ.ดร.นวดล เหล่าศิริพจน์ ประธานคณะทำงานประสานงานและติดตามการดำเนินงานและประเมินผลโปรแกรมธัชวิทย์มิติที่ ๓ Future Graduate Platform ภายใต้โครงการวิทยสถานวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ต้อนรับและแนะนำโครงการ “ธัชวิทย์”
ศ.ดร.นวดล เหล่าศิริพจน์ ประธานคณะทำงานประสานงานและติดตามการดำเนินงานและประเมินผลโปรแกรมธัชวิทย์มิติที่ ๓ Future Graduate Platform ภายใต้โครงการวิทยสถานวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ต้อนรับและแนะนำโครงการ “ธัชวิทย์” คณะผู้เยี่ยมชมจาก สป.อว. เยี่ยมชมพื้นที่วิจัยและโรงงานต้นแบบของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี บางขุนเทียน เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2568 สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) นำโดย คุณเอกพงศ์ มุสิกะเจริญ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และคุณเมธี ลิมนิยกุล ผู้อำนวยการกลุ่มประสานเครือข่าย อว. ในภูมิภาค พร้อมด้วยบุคลากรในสังกัด เข้าเยี่ยมชมพื้นที่วิจัยและโรงงานต้นแบบของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีบางขุนเทียน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาดูงานเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงศักยภาพของโครงสร้างพื้นฐานในการทำวิจัยและพัฒนาของมหาวิทยาลัย และความพร้อมในการจัดตั้งอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคกลางตอนล่าง โดยได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.สุวิทย์ แซ่เตีย อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กล่าวต้อนรับ และแนะนำศักยภาพของ มจธ. และความพร้อมในการจัดตั้งอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคกลางตอนล่าง พร้อมการต้อนรับจากคณะผู้บริหารของ มจธ. ได้แก่ อ.ธนิตสรณ์ จิระพรชัย รองอธิการบดี มจธ.ราชบุรี ดร.อรรณพ นพรัตน์ รองอธิการบดี มจธ.บางขุนเทียน…
-
AI บุกทุ่งนา พลิกโฉมวงการเกษตรไทย
บพค. จับมือพันธมิตรระดับโลกอย่าง e-ASIA โดยทีมนักวิจัยสุดเจ๋งจาก BIOTEC สวทช. พัฒนาระบบ Smart Farming ที่ใช้ AI วิเคราะห์และควบคุมการปลูกข้าวแบบเปียกสลับแห้ง พร้อมประยุกต์ใช้ Biochar กับนวัตกรรมจากแหนแดง เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มีสูงถึง 55% ในภาคเกษตรกรรมไทยความพิเศษของโครงการนี้อยู่ที่การผสานเทคโนโลยีสุดล้ำหลากหลายด้านโดยได้รับความร่วมมือจากสถาบันชั้นนำของไทยและต่างประเทศอีกหลายแห่ง ทั้งระบบ AI ที่วิเคราะห์และควบคุมการทำนาแบบแม่นยำ การใช้ Biochar เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการกักเก็บคาร์บอนและแพลตฟอร์ม Smart Farming ที่เกษตรกรเข้าถึงได้ง่าย โครงการนี้ไม่เพียงแต่จะช่วยยกระดับการทำเกษตรกรรมไทยสู่มาตรฐานโลก แต่ยังเป็นก้าวสำคัญในการมุ่งสู่เป้าหมาย Carbon Neutrality ภายในปี 2050 และ Net Zero GHGs ในปี 2065 ด้วยการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมให้เข้ากับภูมิปัญญาการเกษตรไทยแต่ดั้งเดิมได้อย่างลงตัว มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญนี้ สอบถามเพิ่มเติมและติดตามข่าวสารจาก บพค. (PMU-B) ได้เลยที่ Facebook: PMU-B Thailand https://www.pmu-hr.or.th/ Newsletter คอลัมน์ INSIGHT บพค. ร่วมมือกับ e-ASIA…
-
บพค – ธัชวิทย์ ร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ Opportunities of engineering biology และ Gap analysis ที่เกี่ยวข้องกับ Synthetic biology ของประเทศไทย โดยความร่วมมือของสถานทูตสหราชอาณาจักร-บวท-Bioeconomy Corporation มาเลเซีย
เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2568 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) นำโดย ดร.ภาวดี อังค์วัฒนะ รองผู้อำนวยการ บพค. พร้อมด้วย ดร.สนธยา ชัยอาวุธ และ ดร.ศุภฤกษ์ บุพศิริ นักวิเคราะห์อาวุโส เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) ในหัวข้อ “Opportunities of engineering biology และ Gap analysis ที่เกี่ยวข้องกับ synthetic biology ของประเทศไทย” ซึ่งจัดกิจกรรมนี้เป็นครั้งที่ 3 มุ่งเป้าประเด็นการทำกิจกรรมเรื่อง “Foresight and Recommendation ที่เกี่ยวข้องกับ Synthetic biology/engineering biology ของประเทศไทย” อำนวยการจัดการประชุมโดยมูลนิธิบัณฑิตยสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (บวท. หรือ Thai Academy of…
-
Nature-based Solutions พลิกโฉมเกษตรไทยสู่คาร์บอนสมดุล
พบกับ ศ. ดร.นวดล เหล่าศิริพจน์ ผู้อำนวยการบัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (JGSEE) มจธ. ผู้นำการพัฒนานวัตกรรม Nature-based Solutions เพื่อแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภาคเกษตรไทย “เราใช้ธรรมชาติเป็นเครื่องมือหลักในการดูดซับคาร์บอน ผ่านการพัฒนาเทคโนโลยีสาหร่ายขนาดเล็กและการปรับปรุงพันธุ์พืช ซึ่งไม่เพียงช่วยลดโลกร้อน แต่ยังสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเกษตรกรรมไทย”ศ. ดร.นวดล เล่าถึงนวัตกรรมที่จะช่วยผลักดันไทยสู่เป้าหมาย Carbon Neutrality 2050 และนี่คือจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ที่ บพค. พร้อมสนับสนุนผ่านหลักสูตร Sandbox สร้างบุคลากรรุ่นใหม่รองรับ Green Jobs ที่กำลังจะเติบโตในอนาคตอันใกล้ ติดตามข้อมูลข่าวสาร และอ่านเพิ่มเติมได้ที่ Facebook: PMU-B Thailand https://www.pmu-hr.or.th/ Newsletter คอลัมน์ WHAT’S New : pmu-hr.or.th/newsletter/ ศาสตราจารย์ ดร.นวดล เหล่าศิริพจน์ กับแนวทาง Nature – based Solutions สู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนในเกษตรกรรมไทย #บพค #PMUB #กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม#กระทรวงอว #MHESI #กองทุนส่งเสริมววน #NatureBasedSolutions #SustainableAgriculture #GreenJobs #ThaiScience See less
-
บพค. ร่วมกับ สกสว. และสำนักงบประมาณ ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานวิจัยและนวัตกรรม ภายใต้กองทุนส่งเสริม ววน. ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น
เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2567 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) นำโดย ดร.ภาวดี อังค์วัฒนะ รองผู้อำนวยการ บพค. พร้อมด้วยนักวิเคราะห์อาวุโส เดินทางลงพื้นที่ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และสำนักงบประมาณ เพื่อตรวจเยี่ยมและติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานวิจัยและนวัตกรรม ที่ได้รับการสนับสนุนภายใต้กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กองทุนส่งเสริม ววน.) ณ จังหวัดขอนแก่น เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และเป้าหมายสำคัญในระดับพื้นที่ รวมทั้งเสริมสร้างการพัฒนาและความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ ตลอดจนส่งเสริมการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม โดยช่วงเช้า ศาสตราจารย์ ดร.สมปอง คล้ายหนองสรวง ผู้อำนวยการ สกสว. พร้อมคณะผู้ตรวจเยี่ยม ได้ลงพื้นที่เยี่ยมชมโรงรวบรวมผลผลิตกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกพืชผักโนนเขวา ตำบลดอนหัน อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น เพื่อรับฟังการนำเสนอเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำและการเกษตรในพื้นที่ รวมทั้งระบบการรับซื้อและขายของกลุ่มเกษตรกรปลูกพืชผักบ้านโนนเขวา จากนั้นลงพื้นที่สำรวจ ฝายห้วยซันอนุสรณ์ และแปลงเกษตรกรที่ใช้น้ำจากฝายห้วยซันและหนองน้ำแก้มลิงในบริเวณโดยรอบ ซึ่งเป็นตัวอย่างการบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตรที่ยั่งยืน ต่อมาในช่วงบ่าย คณะผู้ตรวจเยี่ยม ได้เข้าเยี่ยมชม “โครงการการวิจัยและพัฒนายกระดับการเขียนบทภาพยนตร์ไทยสู่ตลาดโลกและกำลังคนที่เชี่ยวชาญระดับสากล โดยใช้รากเหง้าและอัตลักษณ์วัฒนธรรมล้านช้าง”…
-
บพค. หนุนวิจัย Biochar นวัตกรรมกักเก็บคาร์บอน เมื่อขยะเกษตรกลายเป็นฮีโร่กู้โลก
รู้หรือไม่? เศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรอย่างฟางข้าว กิ่งไม้ หรือซังข้าวโพด สามารถแปรรูปเป็น ‘ไบโอชาร์’ นวัตกรรมกักเก็บคาร์บอนที่น่าทึ่งได้ด้วยกระบวนการ Pyrolysis สุดล้ำ ที่แปรรูปฟางข้าว กิ่งไม้ และซังข้าวโพด ให้กลายเป็นถ่านชีวภาพที่กักเก็บคาร์บอน ได้มากถึง 2 ตันต่อตัน การพัฒนางานวิจัยในครั้งนี้เกิดขึ้นได้ด้วยการสนับสนุนจาก บพค. ที่ร่วมมือกับ BIOTEC สวทช. ในโครงการการพัฒนาวิธีีการปลูกข้้าวและแปรรูปวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรในการดักจัับคาร์บอน โดยพัฒนาแบบจำลอง (Artificial Neural Network, ANN) เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในการผลิตข้้าวของภูมิิภาคเอเชีย (IAW-CCM Asia) ผ่านการผลิตไบโอชาร์จากฟางข้าว พร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่เกษตรกรในภูมิภาคเอเชีย เพื่อสร้างระบบการเกษตรที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โครงการนี้จึงนับเป็นก้าวสำคัญของการพัฒนานวัตกรรมไทยเพื่อโลกที่ดีกว่าในการช่วยลดการปล่อยคาร์บอนในอุตสาหกรรมก่อสร้างและเพิ่มคุณภาพดินเพื่อการเกษตรอย่างยั่งยืน มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนกับ บพค.พร้อมติดตามข้อมูลเพิ่มเติมและอัพเดทความก้าวหน้าล่าสุดได้ที่ Facebook: PMU-B Thailand https://www.pmu-hr.or.th/ Newsletter คอลัมน์ WHAT’S New : pmu-hr.or.th/newsletter/Biochar นวัตกรรมกักเก็บคาร์บอนที่น่าจับตามอง#บพค #PMUB #Synbio #กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม#กระทรวงอว #MHESI #กองทุนส่งเสริมววน #Biochar #GreenInnovation…
-
บพค-ธัชวิทย์ ร่วมกับ University of Science and Technology (UST) เกาหลีใต้ จัดกิจกรรม TAS Annual Networking สร้างความเข้มแข็งด้านการวิจัยขั้นแนวหน้า พร้อมพัฒนากำลังคนผ่าน Future Graduate Platform
เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2567 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) จัดกิจกรรม Thailand Academy of Sciences (TAS) Annual Networking Activity ภายใต้แนวคิด “การเชื่อมโยงกำลังคนสมรรถนะสูงข้ามพรมแดนร่วมกับ University of Science and Technology (UST) ประเทศเกาหลีใต้ – Connecting Brainpower Across Border with UST South Korea” นำโดย ผศ.ดร.ปริปก พิศสุวรรณ รองผู้อำนวยการ บพค. ผศ.ดร.วรจิตต์ เศรษฐพรรค์ ประธานคณะประสานงานคลัสเตอร์ด้าน Global Partnership ศ.ดร.นวดล เหล่าศิริพจน์ หัวหน้าคณะผู้ประสานงานอำนวยการโครงการธัชวิทย์ประจำปี 2567 ผศ.ดร.จุฑารพ เพชระบูรณิน…
-
Synbio หรือ Synthetic biology เป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่กำลังเข้ามา disrupt อุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีภาพและทางการแพทย์ของประเทศไทย
Synbio หรือ Synthetic biology เป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่กำลังเข้ามา disrupt อุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีภาพและทางการแพทย์ของประเทศไทย ซึ่งจะเข้ามามีส่วนช่วยพัฒนากระบวนการผลิตในระดับอุตสาหกรรม โดยเปลี่ยนจุลินทรีย์ทั่วไปให้กลายเป็น cell factory หรือที่เราคุ้นเคยคือ Microbial cell factory ซึ่งทำหน้าที่ผลิตสารสำคัญที่ต้องการ โดยโรงงาน(จุลินทรีย์ที่ใช้) ต้องการคนมาดูโรงงานทั้งระบบ (System Biology) มีความรู้ความเข้าใจ whole genome, pathways, promoter, regurator ต่าง ๆ ของจุลินทรีย์เพื่อสร้าง genetic circuits และสามารถทดสอบ Systems biology model ที่สร้างขึ้นได้ ที่สำคัญยังต้องการวิศวกร Metabolic engineering มาตัดต่อ สร้าง ควบคุมการแสดงออกหรือการผลิตโปรตีน (enzyme/protein expression) ให้ถูกที่ (localization) ถูกเวลา (timing) มีเครื่องมือแก้ไข (ตัด/ต่อ) จีโนม หรือ Genome editing เช่น…
-
บพค. ให้การต้อนรับคณะผู้บริหารและคณาจารย์จาก University of Science and Technology (UST) สาธารณรัฐเกาหลี เข้าเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการร่วมพลังงานและเคมีชีวภาพ BIOTEC ต่อยอดการสร้างคนด้านเทคโนโลยีชีวภาพขั้นสูงข้ามพรมแดน
วันนี้ (17 ตุลาคม 2567) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปริปก พิศสุวรรณ รองผู้อำนวยการ บพค. พร้อมด้วยพนักงาน บพค. นำคณะผู้บริหารและนักวิจัยจาก University of Science and Technology (UST) สาธารณรัฐเกาหลี นำโดย Dr. Won Suk SHIN – Korea Research Institute of Chemical Technology (KRICT) Dr. June Seok CHOI – Korea Institute of Civil Engineering and Building Technology (KICT)…
-
Explore International Education and Career Paths with UST!
Don’t Miss : Explore International Education and Career Paths with UST!🌐 UST Comes to Thailand – Promoting World-Class Courses in Collaboration with TAS 🌐The University of Science and Technology (UST), South Korea, is coming to Thailand to showcase its exceptional courses and research opportunities! In collaboration with the Thailand Academy of Sciences (TAS), this event…
-
กระทรวง อว. หนุนผลิตกำลังคนตอบความต้องการเร่งด่วนของประเทศผ่านหลักสูตรแซนด์บ็อกซ์ พร้อมอนุมัติเพิ่ม 5 หลักสูตร ในสาขาสำคัญของประเทศ เน้นย้ำหลักสูตรแซนด์บ็อกซ์ด้านเซมิคอนดักเตอร์ เริ่มดำเนินการปีการศึกษา 2568
(3 ตุลาคม 2567) คณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่อง ด้านการส่งเสริมนวัตกรรมการอุดมศึกษา ซึ่งได้รับมอบอำนาจจากสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ได้มีการประชุม ครั้งที่ 1/2567 โดยมีนางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานการประชุม ซึ่งที่ประชุมได้มีวาระสำคัญในการพิจารณาอนุมัติข้อเสนอการจัดการศึกษาฉบับสมบูรณ์สำหรับการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา (Higher Education Sandbox) หรือหลักสูตรแซนด์บ็อกซ์ เพิ่มเติมอีก 5 หลักสูตร นางสาวศุภมาส กล่าวว่า หลักสูตรแซนด์บ็อกซ์ที่เสนอเพื่อขออนุมัติจัดการศึกษาเพิ่มเติมในครั้งนี้ อยู่ในสาขาที่เป็นความต้องการเร่งด่วนของประเทศ อาทิ เซมิคอนดักเตอร์ ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ และ ระบบราง โดยเฉพาะหลักสูตรวิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์ ที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้เป็นหลักสูตรกลางของประเทศ โดยเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษา 15 แห่ง เพื่อร่วมกันผลิตบัณฑิตเฉพาะทางสมรรถนะสูงที่ตอบโจทย์ความต้องการ และมีจำนวนมากเพียงพอสำหรับดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ รวมถึงนำไปสู่การเป็น New Growth Engine ตัวใหม่ของประเทศ หลักสูตรนี้มีจุดเด่นอยู่ที่ความร่วมมืออย่างเข้มข้นของสถาบันการศึกษากับบริษัทเอกชนชั้นนำของประเทศ 8 แห่ง ซึ่งจะเข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่การออกแบบสมรรถนะ สนับสนุนผู้เชี่ยวชาญและเครื่องมือขั้นสูง รวมถึงการรับนักศึกษาเข้าฝึกและเข้าทำงานหลังจบการศึกษา นอกจากนี้ อีกหนึ่งหลักสูตรที่มีความต้องการขาดแคลนเร่งด่วน…
-
บพค. ร่วมขับเคลื่อนการใช้ผลงานวิจัยและนวัตกรรม ในงาน “TRIUP FAIR 2024”
วันนี้ (24 กันยายน 2567) ศาสตราจารย์ ดร.สมปอง คล้ายหนองสรวง ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมด้วย ดร.ภาวดี อังค์วัฒนะ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิรินันท์ กุลชาติ รองผู้อำนวยการ บพค. เข้าร่วมงานมหกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยและนวัตกรรม ประจำปี 2567 หรือ TRIUP FAIR 2024 ภายใต้แนวคิด “Impact Journey to Ignite Thailand : เส้นทางการขับเคลื่อนงานวิจัยและนวัตกรรมสู่การยกระดับเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ” ซึ่งจัดโดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และหน่วยงานภาคีเครือข่ายในระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ผนึกกำลังสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย โดยได้รับเกียรติจาก นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดงาน…
-
บพค. ส่งเสริมการยกระดับทักษะทางดิจิทัลผ่าน IoT นวัตกรรมแบบเปิด HandySense แก่เยาวชน ปั้นยุวเกษตรกรอัจฉริยะ เสริมแกร่งพลังฐานราก Agriculture and Food Hub
วันนี้ (วันที่ 19 กันยายน 2567) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) นำโดย ดร.ชิดชนก อนุตระกูลชัย และ ดร.ศุภฤกษ์ บุพศิริ นักวิเคราะห์อาวุโส ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานโครงการพัฒนาพลเมืองการเกษตรอัจฉริยะเสมือนจริง/เชิงพื้นที่ ผ่านเทคโนโลยี HandySense ภายใต้โครงการหลัก การพัฒนาเยาวชนสมรรถนะสูงด้าน Coding เพื่อประยุกต์ใช้ในแบบเสมือนจริง (ผ่าน Application) หรือในเชิงพื้นที่ สำหรับการเกษตรอัจฉริยะ และมีความรู้ความสามารถด้าน Business Model เพื่อการบริการด้านเกษตรอัจฉริยะ โดยมีนายนพดร ปัญญาจงถาวร รองผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาบุคลการแห่งอนาคต สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เป็นหัวหน้าโครงการ โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กองทุนส่งเสริม ววน.) แผนงานพัฒนาเยาวชนให้เป็นผู้มีความสามารถพิเศษและ/หรือสมรรถนะสูงด้าน Coding โดยใช้วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อเป็นฐานในการสร้างบุคลากรด้าน ววน. ในอนาคต ประจำปีงบประมาณ 2566 มีวัตถุประสงค์หลักในการสร้างนักพัฒนาระบบบริหารแปลงเกษตรอัจฉริยะ…
-
Call for Application 2025 (Fiscal Year 2026) Germany – Thailand Joint Call for Proposals on Bioeconomy
The bioeconomy, according to the FAO, is the sustainable use of biological resources for economic growth. It provides solutions to global challenges like food security, climate change, and resource protection by replacing fossil resources with renewable ones. To accelerate this transformation, research, technology development, and international cooperation are crucial. Germany and Thailand are working together…
-
บพค. ผลักดันการแพทย์ไทยยุคใหม่ด้วยเทคโนโลยีโอมิกส์ (Omics Technology) นำโดย ศาสตราจารย์ ดร.สมปอง คล้ายหนองทรวง ผู้อำนวยการ บพค.
ในประเด็นของเทคโนโลยีโอมิกส์ (Frontier Technology) เทคโนโลยีขั้นแนวหน้า ที่ช่วยขยายขอบเขตของการวิจัยและนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ หลาย ๆ ด้าน รวมไปถึงบูรณาการกับศาสตร์ที่มีความก้าวหน้าสูงโดยมีเป้าหมายที่จะการศึกษาเกี่ยวกับรหัสพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตในระดับจีโนม (Genomics) การแสดงออกของยีน (Transcriptomics) หน้าที่การทำงานของโปรตีน การปฏิสัมพันธ์ของโปรตีน(Proteomics) และการเปลี่ยนแปลง ของเมตาโบไลต์ที่เป็นชีวโมเลกุลขนาดเล็กในสิ่งมีชีวิต (Metabolomics) การแสดงออกของยีน (Transcriptomics) หน้าที่การทำงานของโปรตีน การปฏิสัมพันธ์ของโปรตีน (Proteomics) และการเปลี่ยนแปลง ของเมตาโบไลต์ที่เป็นชีวโมเลกุลขนาดเล็กในสิ่งมีชีวิต (Metabolomics) ซึ่งในปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีโอมิกส์มาใช้ประโยชน์ในหลาย ๆ ด้านได้แก่ ด้านการเกษตรและอาหาร เช่น การใช้ Genomics เพื่อปรับปรุงพันธุ์พืช และสัตว์ และการใช้ Metabolomics ในการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของอาหาร ด้านการแพทย์ เช่น การศึกษา Genomics เพื่อใช้ในการออกแบบเครื่องหมายบ่งชี้ชีวภาพ (Biomarkers) และเพื่อการนิจฉัยโรคและพัฒนาหรือการรักษาที่จำเพาะต่อบุคคล (Personalized Medicine) อย่างในปีงบประมาณ 2567 หน่วยงาน บพค. ได้เร่งผลักดันเทคโนโลยีโอมิกส์ ภายใต้กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในด้านการแพทย์มากมายเพื่อแก้ปัญหาสาธารณสุขของประเทศ ไม่ว่าจะเป็น…
-
บพค. ร่วมกับ กระทรวง อว. ปล่อยรถนำสิ่งของเพื่อไปช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม จ.เชียงราย พร้อมนำความช่วยเหลือลงไปในทุกพื้นที่ที่ได้รับความเดือดร้อน ภายใต้ศูนย์ปฏิบัติการสถานการณ์น้ำท่วม “อว. เพื่อประชาชน”
วันนี้ (13 กันยายน 2567) นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานในการปล่อยรถนำสิ่งของเพื่อไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมในภาคเหนือ พื้นที่ จ.เชียงราย ภายใต้ศูนย์ปฎิบัติการสถานการณ์น้ำท่วม “อว. เพื่อประชาชน” โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.สมปอง คล้ายหนองสรวง ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิรินันท์ กุลชาติ รองผู้อำนวยการ บพค. พร้อมด้วยคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่หน่วยงานในสังกัดกระทรวง อว. เข้าร่วม ณ อาคารพระจอมเกล้า (โยธี) กระทรวง อว. โดยบรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคัก ในการนี้ บพค. ได้ร่วมบริจาคถุงยังชีพและน้ำดื่มเพื่อนำไปช่วยเหลือพี่น้องประชาชน
-
บพค.-สอวช. เชื่อมโยงความร่วมมือพัฒนากำลังคนกับฝรั่งเศส หวังยกระดับทักษะแก่นักวิจัยให้มีสมรรถนะขั้นสูง ผ่านกลไก International Strategic Alliances ภายใต้ Future Graduate Platform
วันนี้ (13 กันยายน 2567) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) และสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) นำโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พูลศักดิ์ โกษียาภรณ์ นักยุทธศาสตร์ระดับสูง รักษาการแทนรองผู้อำนวยการ สอวช. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปริปก พิศสุวรรณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิรินันท์ กุลชาติ รองผู้อำนวยการ บพค. พร้อมด้วยรองศาสตราจารย์ ดร.รินา ภัทรมานนท์ ประธานคณะประสานงานคลัสเตอร์ บพค. ด้าน Frontier BCG อาจารย์จตุรภรณ์ โชคภูเขียว ประธานคณะประสานงานคลัสเตอร์ บพค. ด้าน SHA Coding และ AI ดร.ชิดชนก อนุตระกูลชัย และ ดร.ศุภฤกษ์ บุพศิริ นักวิเคราะห์อาวุโส บพค. เข้าพบปะและหารือความร่วมมือกับ…