วิทยสถานวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย

การพัฒนากำลังคนสมรรถนะสูงเฉพาะทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภายใต้แพลตฟอร์มวิทยสถานวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย

ล่าสุด

  • บพค. ผลักดันการแพทย์ไทยยุคใหม่ด้วยเทคโนโลยีโอมิกส์ (Omics Technology) นำโดย ศาสตราจารย์ ดร.สมปอง คล้ายหนองทรวง ผู้อำนวยการ บพค.
  • บพค. ร่วมกับ กระทรวง อว. ปล่อยรถนำสิ่งของเพื่อไปช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม จ.เชียงราย พร้อมนำความช่วยเหลือลงไปในทุกพื้นที่ที่ได้รับความเดือดร้อน ภายใต้ศูนย์ปฏิบัติการสถานการณ์น้ำท่วม “อว. เพื่อประชาชน”
  • บพค.-สอวช. เชื่อมโยงความร่วมมือพัฒนากำลังคนกับฝรั่งเศส หวังยกระดับทักษะแก่นักวิจัยให้มีสมรรถนะขั้นสูง ผ่านกลไก International Strategic Alliances ภายใต้ Future Graduate Platform
  • บพค. และ DOST-PCIEERD ลงนาม MoU ผลักดันโครงการ IDEAL ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนนวัตกรรมและนักวิจัยระหว่างไทยและฟิลิปปินส์
  • บพค. ติดตามความก้าวหน้าโครงการวิจัยและหารือการสร้างภาคีความร่วมมือเพื่อพัฒนางานวิจัยขั้นแนวหน้าสำหรับรองรับอุตสาหกรรมแห่งอนาคตภายใต้โปรแกรมธัชวิทย์
  • อว. เปิดตัวแผนพัฒนากำลังคน ‘IGNITING THAILAND’S BRAINPOWER’
  • งานแถลงข่าวเปิดตัวแผนพัฒนากำลังคน : ขับเคลื่อนอนาคตประเทศไทยด้วยนวัตกรรมจุดประกายประเทศไทย สู่การเป็นผู้นำ ด้านบุคลากรยุคใหม่ในอุตสาหกรรมเป้าหมาย  หรือ IGNITING THAILAND’S FOR BRAINPOWER
  • บพค. จับมือ University of Science and Technology (UST)
  • อว. – บพค. เดินหน้าขับเคลื่อนวิทยสถานวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย “ธัชวิทย์” (Thailand Academy of Sciences)
  • งานประชุม “การชี้แจงแนวปฏิบัติในการรับทุน สำหรับผู้ที่ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจาก บพค. ประจำปี 2567”

สื่อ

PMU-B : Igniting Thailand’s Brainpower ขับเคลื่อนอนาคตประเทศไทยด้วยนวัตกรรม
“ธัชวิทย์” วิทยสถานวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย (Thailand Academy of Sciences : TAS)
ระบบนิเวศการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างต่อเนื่อง (Connectivity lifelong learning ecosystems)
“ธัชวิทย์” เกิดจากอะไร?

ขับเคลื่อน 3 มิติ เพื่อเป็นฐานในการพัฒนาประเทศด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม

Future Graduates Platform “กำลังคนสมรรถนะสูงแห่งอนาคต”

ความเป็นมา

สืบเนื่องจากดำริของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ณ งานประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อน “ธัชวิทย์” สู่การเพิ่มศักยภาพ ของประเทศด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2566 ณ โรงแรมเดอะสุโกศล ถนนศรีอยุธยา กรุงเทพมหานคร ที่เล็งเห็นว่า การพัฒนา ด้านวิทยาศาสตร์ของประเทศไทยควรเป็นอย่างก้าวกระโดด และรวดเร็ว เพื่อสร้างประเทศให้มีฐานวิทยาศาสตร์และกำลังคนสมรรถนะสูง และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในเวทีโลก โดยอาศัยแรงขับเคลื่อนจากโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผ่านทุนทางด้านเศรษฐกิจ และโครงสร้างพื้นฐาน ทุนทางสังคมและทรัพยากรมนุษย์ ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่ เพื่อช่วยพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมให้เจริญเติบโตได้อย่าง มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน จึงได้มีแนวคิดการขับเคลื่อนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้วย วิทยสถาน วิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย (Thailand Academy of Sciences : TAS) หรือ เรียกว่า “ธัชวิทย์” และได้มอบหมายให้ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการ พัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) เร่งดำเนินการ “ธัชวิทย์” ให้เป็นรูปธรรมอย่าง รวดเร็ว นั้น บพค. น้อมรับนโยบายโดย “ธัชวิทย์ จะเปลี่ยนประเทศด้วย วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม เพื่อให้ไทยเป็นประเทศพัฒนาแล้วให้ได้ โดยจะยกระดับการศึกษา เทคโนโลยี วิทยาการของประเทศแบบก้าวกระโดด”

“บพค. พร้อมที่จะเป็นหน่วยงานในการผลักดันให้ธัชวิทย์เป็น 1 ในสถาบันคลัง ความรู้ระดับแนวหน้าของประเทศ เป็นหน่วยงานกลางที่จะประสานงานกับทุก หน่วยงาน เพื่อนำพาให้การนำวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมไปใช้ให้เกิด ประโยชน์แก่ประชาชนให้มากที่สุด และร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้ก้าวหน้า ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกต่อไป”

“ธัชวิทย์”

เชื่อมโยงเครือข่ายนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ ระหว่างสถาบันวิจัย มหาวิทยาลัย ภาคเอกชนและอุตสาหกรรม เพื่อสร้างคลังสมองของประเทศ ยกระดับวิจัย และนวัตกรรม ผลิตบัณฑิตสมรรถนะสูงในสาขาที่จำเป็น

มิติที่ 1
Frontline Think Tank คลังคิดนักวิทย์

  • รวบรวมแนวทางการแก้ไขปัญหาและเตรียมการสำหรับอนาคต
  • นำเสนอแนวทางการแก้ปัญหาแก่รัฐบาล
  • ให้ข้อมูลหรือให้ระบบในการแก้ไขหลากหลายปัญหาหรือ แก้ปัญหาเฉพาะด้านเพื่อปรับปรุงให้ดีกว่าวิธิเดิม
  • นำนโยบายมาลงมือปฏิบัติการจริง

มิติที่ 2
Frontier Science Alliances : งานวิจัยชั้นแนวหน้า

  • Food for the future
  • Climate change and beyond
  • Development of human for the future
  • Al / Digital
  • Earth science / Earth space
  • Plasma technology
  • Quantum

มิติที่ 3
Future Graduates Platform : บัณฑิตนักวิทย์สมรรถนะสูง

  • ร่วมกันนำโครงสร้างพื้นฐาน นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย วิศวกร และเครือข่ายที่แต่ละฝ่ายมีอยู่มาสนับสนุนการสร้างและพัฒนากำลังคนสมรรถนะสูง มีทักษะเชิงลึกในเทคนิคเฉพาะทาง
  • สร้างความร่วมมือด้านการวิจัย พัฒนาเทคโนโลยี และบวัตกรรมขั้นแนวหน้าที่เป็นที่ต้องการของประเทศในปัจจุบันและอนาคต
  • นำองค์ความรู้ที่แต่ละฝ่ายมีอยู่มาร่วมกันการสร้างความเข้มแข็ง สร้างคลังสมองในการตอบโจทย์แก้ปัญหาที่สำคัญของประเทศ และชี้แนะแนวโน้มทิศทางของโลกในอนาคต
  • ผลิตและพัฒนากักษะบุคลากรสมรรถนะสูงให้สอดคล้องกับความต้องการและยกระดับความสามามารถของสถาบันวิจัย ภาคอุตสาหกรรม และความต้องการของประเทศ ในสาขาเฉพาะด้าน
ปัจจุบันกำลังสร้างและพัฒนาหลักสูตรมากกว่า 10 หลักสูตรในสาขาที่รองรับการเติบโตและโอกาสทางอุตสาหกรรมใหม่ ๆ ของประเทศไทย์ เช่น Quantum technology, Plasma and fusion technology, High energy physics innovation, Science communication, Future food and bio-nanotechnology แล: Climate change technology loยอาศัยlคsงสร้างพ้นฐานที่กับสมยและบคลากรที่มีความรู้กักษะเฉพาะกาะทาง เพื่อผลิตกำลังคนที่เป็น Brain power ของประเทศให้สามารถปรับตัว และเอ่าตัวรอดต่อการเปลี่ยนแปลงและวิกฤตใหม่ ได้อย่างรวดเร็วและยั่งยืน

นักศึกษาสามารถทำวิจัยโดยมี National facility ระดับโลก “บัณฑิตรัชวิทย์”
สำเร็จการศึกษาโดยมีทั้ง Degree certificate และ Skill (non-degree) certificate และต้องได้รับเข้าทำงานในสถาบันวิจัยหรืออตสาหกรรม ทั้งนี้ Future Graduate Platform พร้อมเปิดรับนักศึกษาในปีการศึกษา 2567

ข่าวสาร

ติดต่อ

TH